กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเป็นภาวะเปลือกตาตกหรือหนังตาตก หย่อนลงมากกว่าปกติ เกิดจากกล้ามเนื้อยกเปลือกตาทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้ลืมตาได้น้อย ลักษณะเปลือกตาบนจึงคลุมปิดตาดำมากเกินกว่าปกติ ทำให้ตาดูปรือ เหมือนตาง่วงนอน ตลอดเวลา ตาดูเพลีย เหนื่อย ไม่สดใส
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง บางคนอาจเป็นมาแต่กำเนิดอยู่แล้ว หรือเกิดขึ้นภายหลังจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การขยี้ตาบ่อยๆ การใส่คอนแทคเลนส์ การเล่นโทรศัพท์เป็นเวลานานๆ ส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้เช่นกัน
1. เลิกหน้าผาก หรือ ยกคิ้วสูง เพราะลืมตาไม่ขึ้น จึงต้องใช้คิ้วช่วยยกเปลือกตาทำให้เปลือกตา ไม่ปิดคลุมตาดำเพื่อเพิ่มการมองเห็น และเนื่องจากยกคิ้วเป็นเวลานานๆจะทำให้เกิดริ้วรอยย่นบริเวณหน้าผาก ทำให้ดูมีอายุ
2. ตาปรือ ตาตก ถ้าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงข้างเดียวจะเห็นเปลือกตาข้างนั้นลงมาปิดที่ขอบบน ของตาดำมากกว่าอีกข้าง ลืมตาได้ไม่โตเท่ากับอีกข้าง ทำให้ชั้นตาไม่เท่ากัน ส่งผลให้เสียบุคลิกภาพ
3. เบ้าตาลึก ไขมันในตาแห้ง ส่วนมากจะพบในผู้ที่มีอายุ ซึ่งคนที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะ เห็นเบ้าตาลึกที่ชัดกว่าปกติ ดูเป็นคนง่วงนอนตลอดเวลา เกิดจากไขมันใต้เปลือกตาหายไป ทำให้ดูแก่กว่าวัย
4. ตาขี้เกียจ (Lazy eye) การที่ตาข้างใดข้างหนึ่งมองเห็นได้ไม่ดีเท่าอีกข้างหนึ่ง หรือข้างหนึ่ง เห็นไม่ชัด อีกข้างหนึ่งเห็นชัดปกติ ซึ่งดวงตาข้างที่มองเห็นไม่ชัดเกิดจากการสูญเสียพัฒนาการการมองเห็น เรียกว่า ตาขี้เกียจ
1. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด จะมีเปลือกตาตกตั้งแต่เด็ก ตกแค่ข้างเดียว หรือเป็นสองข้าง อาจเกิดจาก ความผิดปกติในการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการ
2. การทำศัลยกรรมตาที่ผิดพลาด การผ่าตัดกับแพทย์ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญก็ส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ในภายหลังได
3. อุบัติเหตุ ทำให้กระทบต่อกล้ามเนื้อตา ส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
4. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงภายหลังเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น เป็นอาการที่แสดงขึ้นภายหลัง การขยี้ตา การใช้สายตา มากเกินไป จากการใช้ชีวิตประจำวัน
5. โรค MG (Myasthenia Gravis) การหลั่งสารสื่อประสาทหรือเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อตาผิดปกติ คลิกเพื่ออ่านบทความเพิ่มเติม
ในโรค MG นั้นเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง ที่เกิดขึ้นที่ระบบประสาทส่วนปลายกล้ามเนื้อ ที่ได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรกๆ
คือ กล้ามเนื้อที่ใช้ลืมตาอาจเป็นเพียงตาข้างเดียวหรือเป็นทั้งสองข้างโดยหนังตาตกไม่เท่ากันก็ได้ในแต่ละช่วงเวลา
อาการมักจะดีขึ้นในช่วงเช้าหลังจากตื่นนอน และจะเป็นมากในช่วงเวลาบ่ายถึงเย็น
ในปัจจุบันโรค MG ยังไม่มีการรักษาที่หายขาดได้ หากแพทย์สงสัยว่าคนไข้เป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงชนิดนี้ จะยังไม่ควรได้รับการผ่าตัด
เพราะโรค MG สามารถรักษาได้ด้วยยาที่มีฤทธ์ิลดการทําลายสารสื่อประสาทที่บริเวณรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเพื่อช่วยลดอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หนังตาตก และการมองภาพซ้อน ดีขึ้นได้ขึ้นได้ ด้วยการรับประทานยา
การแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง การผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเหมือนการทำตาสองชั้นปกติ สามารถผ่าตัดได้ทั้งแผลสั้นและแผลยาว แพทย์จะ ผ่าตัดลงลึกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อตา เพื่อปรับระดับการยกขึ้นของเปลือกตา จะใช้เวลานานกว่า และต้องให้แพทย์ ที่เชี่ยวชาญในการผ่าตัดเท่านั้น
ผลลัพธ์จากการผ่าตัดแก้ไข้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
1. ตาดำเปิดชัดมากขึ้น ช่วยในการมองเห็น
2. ดวงตาดูกลมโตสดใส
3. ตาไม่ปรือ ทำให้บุคลิกภาพดีขึ้น
4. มีชั้นตาที่สวย สองฝั่งดูใกล้เคียงกัน
5. ลดปัญหาการเลิกหน้าผาก ทำให้เกิดริ้วรอยลดลง ดูอ่อนเยาว์
โดย Goodwill clinic จะเลือกใช้เทคนิค Charming eyes เป็นเทคนิคที่คุณหมอได้พัฒนาและฝึกอบรมมาจากประเทศเกาหลี ในการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เพื่อตาหวานละมุน ได้ตาหวานสไตล์เกาหลี ร่วมกับ เทคนิค Triple lock ไม่ทำให้ชั้นตาหลุดง่ายขึ้น
ผ่าตัดโดย นพ.ภานุพงศ์ บุนกาลกุล (หมอฮอลล์) จบเทคนิคทางด้านการทำศัลยกรรมตาสองชั้นและแก้ไข กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงขั้นสูงที่ MEPS : Myoung Eye Plastic Surgery จากประเทศเกาหลี คนไข้จึงมั่นใจได้ ว่าก่อนการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยเป็นอย่างดีเพื่อให้ดวงตากลับมาเป็นปกติ แล้ว ยังคำนึงถึงชั้นตาที่เป็นธรรมชาติ ความสวยงามของดวงตาเสมอ
โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จำเป็นต้องรักษามั้ย?
โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง รักษายังไง?
ข้อดี ของการรรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
โรค MG คืออะไร? ต่างกับโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงยังไง รักษาเองได้ไม่ต้องผ่าตัด
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงข้างเดียว รักษาได้
ร้อยเอ็นเทียมคืออะไร? รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้จริงไหม?
รีวิวกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง