เมนู

คำนวณค่า BMI (ค่าดัชนีมวลกาย) สำหรับการดูดไขมัน

ค่า BMI สำหรับการดูดไขมันคืออะไร?

ดัชนีมวลกาย หรือเรียกทั่วไปว่า บีเอ็มไอ (BMI : Body Mass Index) คือ อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักต่อส่วนสูง เป็นค่าที่นิยมใช้เป็นตัววินิจฉัยว่าใครน้ำหนักตัวเกินหรืออาจเป็นโรคอ้วน และใช้สำหรับประเมินการดูดไขมัน

ในการดูดไขมันผู้ที่เหมาะจะทำศัลยกรรมดูดไขมันควรมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่า 30 นั้นกำลังดีเพราะการดูดไขมัน (Liposuction) เหมาะสำหรับผู้ที่มีรูปร่างและน้ำหนักตัวที่ไม่อ้วนมาก ต้องการจะมีสัดส่วนที่ดีขึ้นหรือต้องการที่จะมีสัดส่วนในแบบที่ต้องการ และมีบริเวณที่มีการสะสมของไขมันที่กำจัดได้ยาก

แต่จะให้ทำการออกกำลังกายเพื่อลดไขมันในร่างกายออกไปทั้งหมดก็เป็นได้ยาก ต้องอาศัยระยะเวลาค่อนข้างนาน ดังนั้นจึงมีการพัฒนาวิธีการที่จะนำไขมันส่วนเกินเฉพาะส่วนออกจากร่างกายอย่างได้ผล ด้วยการดูดไขมันส่วนเกินออกจากร่างกาย

คนที่มีไขมันสะสมอยู่ในร่างกายย่อมที่จะต้องการนำไขมันส่วนนั้นออกจากร่างกาย ไม่ต้องการที่สะสมไว้เป็นเวลานาน เพราะนอกจากจะทำให้รูปร่างไม่สวยงามแล้ว ยังส่งผลให้ร่างกายมีความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงในอนาคต เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง ไขมันอุดตันในเส้นเลือด เบาหวาน ฯลฯ

ใครที่ไม่เหมาะกับการดูดไขมัน

คนที่มี BMI เยอะ หากมีดัชนีมวลกาย มากกว่า 23 ถือว่ามีภาวะน้ำหนักเกิน หากมากกว่า 25 เข้าสู่เกณฑ์โรคอ้วน จะมีระดับอันตรายในการศัลยกรรม ไม่ใช่แค่เฉพาะการดูดไขมัน แต่เป็นศัลยกรรมทุกชนิด โดยเฉพาะคนที่มีดัชนีมวลกายเกิน 35 ขึ้นไปนั้น ควรเลือกลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นแทนการดูดไขมัน

ไขมันส่วนเกินไม่ได้มีความจำเป็นต่อร่างกาย แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีไขมันส่วนที่เกินมามากหรือน้อยขนาดไหน?

วิธีคำนวนดัชนีมวลกาย (body mass index-BMI)

วัดความอ้วนด้วยค่าดัชนีมวลกาย ตามสูตร น้ำหนัก (กก.) / ส่วนสูง (ม.) x ส่วนสูง (ม.)

          เช่น  คนที่น้ำหนัก 50 กก. และสูง 160 ซม. (1.6 เมตร)

          จะมีดัชนีมวลกาย = (50 หาร 1.6) แล้วหารด้วย1.6 อีกครั้ง = 19.53 รูปร่างปกติ

หรือคำนวณได้จาก https://www.lovefitt.com/เครื่องคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย-bmi/

สำหรับค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสมมีดังนี้

• ต่ำกว่า 18.5 น้ำหนักน้อย/ผอม
• 18.5 – 24.9 รูปร่างปกติ
• 25.0 – 29.9 รูปร่างอ้วน
• 30 – 34.9 อ้วนระดับ 1
• 35 ขึ้นไป อ้วนระดับ 2

สำหรับคนที่มีเรื่องของรูปร่างและสัดส่วน ทางออกหนึ่งที่หลายคนสนใจก็คือการ “ดูดไขมัน” แต่ละคนจะมีน้ำหนักตัว สัดส่วน รวมถึงไขมันไม่เท่ากัน การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย ทำให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญนำไปประเมินรูปร่างคร่าวๆ ได้

การปรึกษาแพทย์ก่อนผ่าตัด
1. ปริมาณไขมันที่ต้องการดูด
2. ตำแหน่งที่ต้องการดูดไขมัน โดยทั่วๆไปจะซ่อนไว้ตามรอยพับที่ต่างๆ
3. เทคนิคที่จะใช้ในการดูดไขมัน
4. ศึกษาถึงแผลเป็นที่เกิดจากการดูดไขมันในแต่ละตำแหน่ง เช่น บริเวณหน้าท้อง แผลทางเข้าจะอยู่ทางสะดือหรือขาหนีบถ้าต้องการดูดไขมันบริเวณที่ต้นขา แผลจะอยู่ที่ขาหนีบ

วิธีการสลายไขมันด้วย RF

ทำให้ไขมันถูกดูดออกมาได้ง่าย

โดยการดูดไขมันหลักๆ คือการทำให้ไขมันหลวมเพื่อดูดออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น แต่การทำให้ไขมันหลวมมีหลายวิธีการ ได้แก่ การใช้คลื่นวิทยุ (RF), การใช้อัลตราซาวด์ (คลื่นเสียง), การฉีดสารละลายบางอย่างที่ทำให้ไขมันแตกตัวและดูดง่ายขึ้น

อย่างเช่นบริเวณน่องเป็นบริเวณที่หลายคนอยากดูดไขมันออก แต่ส่วนมากขนาดของน่องที่ใหญ่ มักไม่ได้เป็นเพราะไขมันแต่เป็นเพราะกล้ามเนื้อมากกว่า อาจต้องเข้าไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวิเคราะห์ละเอียดอีกทีว่ามีไขมันสะสมอยู่มากน้อยเพียงใด