จะรู้ได้ไงว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง? มีหลายคนถามคำถามนี้กับหมอมาเยอะมากๆ ซึ่งจริงๆแล้วมันมีหลากหลายอาการที่แสดงออกมา แตกต่างกันออกไปตามแต่ละคน ซึ่งหลักๆที่มาจะมีอาการตาง่วงตาปรือหรือตาลึกโบ๋ ตาดูอิดโรย หรืออีกอาการยอดนิยมที่เจอได้บ่อยเลยก็คือพยายามลืมตา แต่ก็ลืมตาไม่ขึ้น หนักตา จนต้องคอยยกคิ้วเพื่อช่วยในการมองเห็นเลยก็มี ซึ่งวันนี้หมอได้ทำการรวบรวมทุกคำถาม รวมถึงคำตอบไว้ให้แล้ว ว่าแบบนี้แหละ อาการของ “กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” ซึ่งหากใครกำลังหาสาเหตุ หรือต้นตอว่าโรคนี้มีที่มาที่ไปยังไง แล้วกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจำเป็นต้องรักษาหรือไม่ มีความอันตรายมากน้อยแค่ไหน ก็สามารถข้ามไปอ่านตามหัวข้อที่สนใจได้ตามสารบัญด้านล่างได้เลยครับ – หมอฮอลล์ นพ. ภานุพงศ์ บุนกาลกุล
เลือกอ่านตามหัวข้อที่สนใจ
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นภาวะที่เปลือกตาตกลงมาอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าปกติ หรือเปลือกตาตกลงมาปิดตาดำมากกว่า 2 มิลลิเมตร ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ยกเปลือกตาทำงานได้ไม่เต็มที่ หรือกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงลง ซึ่งปัจจัยในการเกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้นมีหลากหลาย ทั้งยังสามารถเกิดได้จากความผิดปกติของเส้นประสาทที่ใช้ในการควบคุมกล้ามเนื้อตา ซึ่งสามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัยอีกด้วย อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ได้ที่นี่
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท
1. ประเภทที่เป็นมาแต่กำเนิด ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดตั้งแต่กำเนิดเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ อาจเกิดจากการพัฒนากล้ามเนื้อที่ไม่สมบูรณ์ในเด็กเล็ก ซึ่งส่งผลต่อเส้นประสาทโดยตรง ทำให้เด็กบางคนมีเปลือกตาตกปิดตาดำ และมีอาการตาง่วงหรือปรือมากกว่าปกติ โดยอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งที่ตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
2. ประเภทที่เป็นภายหลัง สำหรับประเภทนี้จะไม่ได้เป็นมาตั้งแต่กำเนิด แต่จะเริ่มมมีอาการในภายหลัง สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความหย่อนคล้อยตามวัย การใช้สายตานานเกินไป หรือความผิดพลาดจากการผ่าตัดตาสองชั้น นอกจากนี้บางคนอาจมีอาการของโรค Myasthenia Gravis (MG) ซึ่งเป็นอาการภูมิแพ้ตัวเอง ที่เกิดขึ้นกับระบบประสาทส่วนปลายกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กล้ามเนื้อที่ใช้ยกเปลือกตาได้รับผลกระทบ ทำให้ตาจะดูตกดูง่วงไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรค Myasthenia Gravis (MG) ได้ที่นี่
จะรู้ได้ไงว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถพิจารณาได้จากอาการโดยทั่วไปของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงข้างต้นได้ตามนี้ หากมีพฤติกรรมที่เข้าข่าย หรือมีมากกว่า 2 ข้อ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์สำหรับรักษาอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในขั้นตอนต่อไป
1. ลืมตาไม่ขึ้น ลืมตาได้ไม่สุด
อาการลืมตาได้ไม่เต็มที่หรือลืมตาไม่ขึ้นนั้น จะเป็นอาการที่ไม่ว่าจะพยายามลืมตาขนาดไหนก็ไม่สามารถลืมได้ จะรู้สึกหนักที่ตา ส่งผลให้เปลือกตาตกลงมาปิดตาดำมากกว่าข้างที่ปกติ ซ้ำยังก่อให้เกิดความรำคาญเพราะหนังตาที่ตกลงมาจะบดบังวิสัยทัศน์การมองเห็น ทั้งข้างที่ลืมไม่ขึ้นนั้นจะมีเปลือกตาที่ใหญ่กว่า ทำให้ชั้นตาดูไม่เท่ากันได้ค่อนข้างชัดเจน
2. เลิกหน้าผากแบบไม่รู้ตัว เวลามองหรือเพ่ง
นอกจากปัญหาลืมตาไม่ขึ้นแล้ว อาการเลิกหน้าผากก็เป็นอีกอาการที่ตามมาติดๆ โดยผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมักจะเลิกหน้าผากเพื่อยกคิ้วขึ้นเพื่อช่วยในการมองเห็น โดยเฉพาะเวลาเพ่งหรือต้องใช้สายมาก ซึ่งหลายคนมีอาการนี้โดยไม่รู้ตัว จะรู้ตัวอีกทีก็เริ่มมีอาการปวดหัวหรือไมเกรน ที่เกิดจากการเกร็งหน้าผากมากเกินไป
3. ตาดำถูกปิดมากกว่าปกติ, ตาดำทั้งสองข้างเปิดไม่เท่ากัน
อาการส่วนใหญ่ที่คนเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมักจะถูกสังเกตได้ชัดเจนที่สุด คือการที่ตาดำสองข้างถูกเปิดไม่เท่ากัน ข้างใดข้างนึงจะถูกเปลือกตาปิดทับมากกว่าปกติ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการมองเห็น หากปล่อยไว้นานอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
4. ตาง่วง ตาปรือ แม้จะนอนหลับเต็มอิ่มแล้ว
คนที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนอกมักจะโดนทักบ่อยๆเรื่องอาการตาปรือตาง่วงนอน ที่แม้ว่าจะนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอแล้วก็ยังไม่หาย อีกทั้งในคนไข้บางรายอาจมีอาการตาลึกตาโหล หรือตาซ้อนกันเป็นริ้วๆหลายชั้นร่วมด้วย
– ลืมตาไม่ขึ้น ลืมตาได้ไม่สุด หนักตา
– ต้องคอยเลิกคิ้วเลิกหน้าผากเวลามองหรือเพ่ง มักจะเป็นแบบไม่รู้ตัว
– เปลือกตาดำถูกปิดมากกว่าปกติ มองเห็นลำบาก
– ตาง่วงตาปรือตลอดเวลา
***อาการดังกล่าว เป็นอาการทั่วไปที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ซึ่งบางคนอาจจะมีอาการดั่งกลางทั้งหมด
หรือบางคนอาจจะมีเพียงข้อเดียว ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายแต่ละคน ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์อีกครั้ง***
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง(Ptosis) จัดเป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่ง(Genetic Disorders) สามารถส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่นได้
โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มีระดับความรุนแรงที่ต่างกันไปตามระดับของเปลือกตาที่ตกลงมา โดยแบ่งได้หลักๆ 2 ระดับดังนี้
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับที่ไม่อันตราย สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ คือเปลือกตาที่ปกคลุมลงมาทับตาดำจะตกลงมาเกิน 2 มิลลิเมตรแต่ไม่เกิน 4 มิลลิเมตร (หากตกลงมาน้อยกว่า 2 มิลลิเมตรไม่จัดว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง)
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับอันตราย จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการมองเห็นขั้นรุนแรง หรือต้องเกร็งหน้าผากจนเป็นไมเกรนอยู่บ่อยๆ เปลือกตาที่ปกคลุมจะตกลงมามากกว่า 4 มิลลิเมตร ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ตัวอย่างจากเคสคนไข้ ที่แสดงระดับความรุนแรงของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ระดับไม่รุนแรง ระดับเปลือกตาตก 2-3 มิลลิเมตร
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ระดับที่รุนแรง ระดับเปลือกตาตกมากกว่า 4 มิลลิเมตร
**แต่ละปัญหามีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการผ่าตัดทุกครั้ง**
โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นโรคที่หลายคนคิดว่าไม่อันตราย แต่จริงๆแล้วมีความอันตรายซ่อนอยู่ เพราะผู้ป่วยหลายรายมักเป็นกันไม่รู้ตัวจนปล่อยให้อาการแย่ลง โดยเฉพาะในเคสผู้สูงอายุ จะมาหาอีกทีก็ต่อเมื่อตาเริ่มลำบาก เริ่มจะลืมไม่ขึ้น เพราะหนังตาที่ตกลงมามากกว่า 4 มิลลิเมตร (เข้าขันรุนแรง) ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการมองเห็น ดังนั้นหากมีอาการแต่เนิ่นๆ ควรรีบเข้ามาพบแพทย์
หากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่มีไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น หรือไม่ได้ถึงขั้นต้องเกร็งหน้าผากในการมองเห็นตลอดเวลา ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
ทั้งนี้ แม้ว่าภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในระดับที่ไม่รุนแรง จะไม่ได้มีผลกระทบในด้านสุขภาพมากนัก แต่ดวงตาที่ได้รับผลกระทบจากกล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรงลง จะทำให้ตาปรือดูง่วงนอน หรือแม้แต่ชั้นตาที่ดูไม่เท่ากัน ซึ่งส่งผลโดยตรงกับภาพลักษณ์ความสวยงาม รวมถึงความมั่นใจได้เช่นกัน ดังนั้นหากใครกังวลในเรื่องนี้ ก็สามารถรับคำปรึกษาจากแพทย์เพิ่มเติม เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป หากใครไม่แน่ใจว่าควรรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหรือเปล่า สามารถอ่านบทความเพิ่มเติม กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจำเป็นต้องรักษามั้ย? ได้ที่นี่
รีวิวแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ครบ 2 ปี ผ่าตัดเย็บกระชับกล้ามเนื้อตา โดย หมอฮอลล์ นพ.ภานุพงศ์ บุนกาลกุล
การรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนนั้น สามารถรักษาหรือแก้ไขได้อยู่หลักๆ 3 วิธี ได้แก่ การรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยการทานยา และการรักษา กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยการผ่าตัดเย็บกระชับกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดยจะคนไข้จะได้รับการประเมินอย่างละเอียดทุกครั้งก่อนการรักษา ซึ่งจะรักษาโดยวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหรือระดับความรุนแรงที่เป็น โดยแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัย
การรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยการให้ยา สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแบบที่พึ่งมาเป็นในภายหลัง ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิดนั้น อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยหนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือโรค MG ซึ่งหากได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคนี้ ก็สามารถรักษาได้โดยการรับประทานยา อีกทั้งผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากโรค MG ไม่ควรเข้ารับการผ่าตัดเย็บกระชับกล้ามเนื้อตา อ่านเพิ่มเติม โรค MG คลิกที่นี่
การรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยการร้อยเอ็นเทียม เป็นการใส่วัสดุทางการแพทย์ ลักษณะเป็นเส้นเอ็นแบบพิเศษ เพื่อทำหน้าที่ดึงหรือพยุงกล้ามเนื้อที่มีภาวะอ่อนแรง โดยการใช้กล้ามเนื้อหน้าผากเข้ามาช่วย โดยการใช้เส้นเอ็นเทียมยึดกล้ามเนื้อตาหน้าผากเข้ากับเปลือกตา เป็นการใส่สลิงให้กล้ามเนื้อกลับมาทำงานได้ดีขึ้น ใช้ในการแก้ปัญหาผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงชนิดรุนแรง ถึงขั้นรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ช่วย โดยในการร้อยเอ็นเทียมนั้น มักทำร่วมกับการทำศัลยกรรมตาสองชั้น อ่านบทความเพิ่มเติมการร้อยเอ็นเทียม คลิกที่นี่
การรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยการผ่าตัดเย็บกระชับกล้ามเนื้อตานั้น จะเป็นการผ่าตัดเพื่อช่วยสร้างความแข็งแรงให้กลับตัวกล้ามเนื้อตา ทำให้กล้ามเนื้อตาสามารถทำงานได้ใกล้เคียงกับธรรมชาติตามเดิมมากที่สุด โดยแพทย์จะทำการกรีดหนังตา ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้วจะใช้การกรีดแบบแผลยาวเพื่อช่วยให้เข้าไปจัดเรียงชั้นกล้ามเนื้อตาให้ได้มากที่สุด พร้อมกับการจัดเรียงไขมันเปลือกตา ทำให้ดวงตาดูสดใส ลืมตาได้สบายมากยิ่งขึ้น โดยการผ่าตัดเย็บกระชับกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้น จะทำร่วมกับการศัลยกรรมตาสองชั้น
รวมรีวิวตาสองชั้นจากคนไข้ทุกแพลตฟอร์ม ของคุณหมอฮอลล์ คลิกด้านล่าง
– ผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ในโรงพยาบาลรัฐ-เอกชนทั่วไป
เริ่มต้น 30,000-70,000 บาท / ราคาสำหรับ 1 ข้าง
(ผลสำรวจจาก 10 โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ปี 2566-2567)
– ผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ที่ Goodwill Clinic
เริ่มต้น 47,900 บาท / ราคาสำหรับ 2 ข้าง (ราคาปัจจุบัน 2567)
ผ่าตัดโดย หมอฮอลล์ นพ. ภานุพงศ์ บุนกาลกุล
1. 72 ชั่วโมงแรงหลังการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ต้องหมั่นประคบเย็น เพื่อช่วยลดอาการบวมช้ำ แผลยุบบวมไวขึ้น
2. หลีกเลี่ยงแผลโดนน้ำ
3. ห้ามแคะ แกะ เกา งดการสัมผัสบริเวณแผลโดยไม่จำเป็น
4. งดใช้สายตาหนักๆในช่วง 1-3 วันแรก หากมีความจำเป็นต้องใช้สายตาจริงๆ ควรพักสายตาทุก 10 นาที และหมั่นประคบเย็นบ่อยๆ
5. หากมีความจำเป็นต้องออกไปข้างนอก ควรหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดจัด และใส่แว่นกันแดดทุกครั้ง
6. งดการรับประทานอาหารหมักดอง อาหารแสลง อาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารทะเล อย่างน้อย 1 เดือน
7. งดการดื่มแอลกอฮอลล์ หรือเครื่องดื่มทีมีแอลกอฮอลล์ทุกชนิด อย่างน้อย 1 เดือน
8. ทำแผลวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หมั่นรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
รีวิวตาสองชั้น พร้อมแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดย หมอฮอลล์ นพ. ภานุพงศ์ บุนกาลกุล
**แต่ละปัญหามีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้ารับการผ่าตัดทุกครั้ง**
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม จองคิวปรึกษา คลิกด้านล่างได้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
โรค MG คืออะไร ต่างกับกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงยังไง
รักษาโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ด้วยวิธี “ร้อยเอ็นเทียม”
ไขข้อสงสัย โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คืออะไร
ทำไมใครๆก็เป็น “กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” ได้ง่ายจัง?
วิธีสังเกตอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยตัวเอง
มัดรวมรีวิวตา2ชั้น จากคนไข้ทุกแพลตฟอร์ม ของคุณหมอฮอลล์